วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

                                                         สรุปสาระความรู้

กรณีศึกษาสื่อนวัตกรรม
วิทยากร: ดร.ประเสริฐ แซ่เอี๊ยบ
วันที่ 20 -21  เมษายน 22557
โดย นางสาว ณัฏฐนิช เรืองโอชา
ครูยุค ICT 
จะอยู่ในยุค Google โดยผู้สร้างคือ แลรรี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Oxford 

ทักษะครูยุค ICT
1. มีทักษะการสืบค้น
2. วิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสาร
3. ออกแบบประยุคต์ใช้สื่อการเรียนการสอน

นิยามคำว่านวัตกรรม
Tomas Huge : นวัตกรรมเกิดจากการ คิดค้น (Invention) พัฒนา (Develop)  และนำไปปฏิบัติ (Pilot project)
Morton : เน้นเรื่องการทำซ้ำ (Renewal) นวัตกรรมคือการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ไม่ใช่การล้มล้างสิ่งเก่า
ไชยศ เรืองสุวรรณ : เป็นสิ่งแปลกไปจากเดิม เกิดจากการคิดค้นใหม่ๆ

การนำนวัตกรรมมาใช้จะเกิดหลักหลัก 3
1. ประสิทธิภาพ คือ ดีขึ้น
2. ประสิทธิผล คือ ผลผลิตดีขึ้น
3. ประหยัด คือ ประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากร ทรัพยากรแรงงาน

กาเกิดนวัตกรรมเกิดจาก
1.คิดสิ่งใหม่
2. พัฒนาสิ่งเก่าให้ดีขึ้น
3. มีการนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแนวปฏิบัติแตกต่างไปจากเดิม 

การเกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
1. เกิดจากแนวคิดและ ความแตกต่างของแต่ละบุคคล โดยมุ่งหาวิธีการให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ โดยความแตกต่างระหว่างบุคคลมี ด้านดังต่อไปนี้
1.1 ด้านร่างกาย เช่น สีผิว เพศ ฯลฯ
1.2 ด่านสติปัญญา เช่น ใช้ E- Learning 
1.3 ด้านอารมณ์ 
1.4 ด้านสังคม 
2.นวัตกรรมเกิดจากความพร้อม นักเรียนต้องมีความพร้อม เมื่อได้เรียนผู้เรียนจะเกิดความพอใจ และ เกิดการเรียนรู้
กฎแห่งความพร้อม : พร้อม --> ได้เรียน --> พอใจ  --> เกิดการเรียนรู้ ในทางตรงกันข้าม
                        ไม่พร้อม  --> ได้เรียน --> ไม่พอใจ  --> ไม่เรียนรู้
                        พร้อม  --> ไม่ได้เรียน --> ไม่พอใจ --> ไม่เรียนรู้
                        ไม่พร้อม  -->ไม่ได้เรียน --> พอใจ --> ไม่เรียนรู้

สรุป ดังนั้นการเรียนต้องอาศัยกฎแห่งความพร้อม : พร้อม --> ได้เรียน --> พอใจ  --> เกิดการเรียนรู้



นวัตกรรมเกิดจาก 3 ฝ่าย คือ
1. นวัตกร (Inventors) คือ ผู้คิดค้นนวัตกรรม เช่น วิศวกร จิตกร
2. ผู้นำ (Leaders) คือ ผู้ที่ช่วยให้นวัตกรสามารถทำผลงานได้สำเร็จ
3. ผู้ต่อต้าน (Resistors)

การยอมรับนวัตกรรม มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ผ่านขั้นรับรู้ (Awareness)
2. ขั้นสนใจ (Interest)
3. ประเมินค่า (Evaluation)
4. ทดลอง (Trial)
5. ยอมรับ (Adoption)
6. บูรณาการ (Integration)

การปฏิเสธนวัตกรรม เกิดจากสาเหตดังนี้
1. เคยชินกับวิธีเดิมๆ
2. ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม
3. ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม 
4. ข้อจำกัดด้านงบประมาณ

การสิ้นสภาพของนวัตกรรม 


 

การจำแนกประเภทของสื่อ
เดอ คีฟเฟอร์
1. เครื่องฉาย
2.ไม่ใช่เครื่องฉาย
3. สื่อประเภทเสียง

เอดการ์เดล 


การเรียงคุณภาพสื่อ จากคุณภาพต่ำ-สูงมีดังนี้
จำพวกนามธรรม 
1. วัจนภาษา (พูดอย่างเดียว)
2. ทัศนสัญลักษณ์ (สื่งที่มองเห็น) เกิดจากการที่มนุษย์สร้าง เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก
จำพวกภาพ
3.ภาพนิ่ง วิทยุ โทรศัพท์
4. ภาพยนต์  (ฉายในโรงภาพยนต์ จำนวนคนมาก ต้องรอเวลาในการรับชม)
5. โทรทัศน์
การกระทำ
6. นิทรรศการ นำเอาความรู้มาจัดนิทรรศการ
7. ศึกษานอกสถานที่
8. การสาธิต
9. ประสบการณ์นาฎกรรม (การแสดงบทบาทสมมติ)
10. ประสบการณ์จำลอง
11. ประสบการณ์ตรง

สื่อการสอนมี3 ประเถท
1. วัสดุ คือ (เนื้อหา) สื่อที่ใช้แล้วหมดไป
2. อุปกรณ์ คือ (ตัวถ่ายทอดเนื้อหา) สื่อที่คงทน
3. เทคนิควิธีรการ คือ (สื่ิที่สำคัญที่สุด) **สำคัญที่สุด**

หลักการเลือกสื่อการสอน
1. สื่อที่นำมาใช้ต้องสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2. ลักษณะของสื่อชนิดต่างๆ
3. ต้องมีความรู้เกี่บวกับแหล่งของสื่อ
จากการวิจัยของอัลเดลเกี่ยวกับการเลือกสื่อการเรียนการสอนพบว่า
 การใช้ภาพยนต์ โทรทัศน์ มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากต่อการเรียนของผู้เรียน

การเลือกสื่อให้สัมพันธ์กับกลุ่มผู้เรียน
1. รายบุคคล
2. กลุ่มย่อย
3. กลุ่มใหญ่
  
การวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการสอน (ASSURE)



การนำเสนอบทเรียน ITTP
กรอบ
1. ชื่อบทเรียน
2. เรื่อง
3. คำแนะนำในการเรียน - วัตถุประสงค์
4. วัตถุประสงค์ เน้น เชิงพฤติกรรม
5. เนื้อหาที่ 1
6. แบบฝึกหัดที่ 1
6.1 ตอบถูก --> ทำแบบฝึกหัดถัดไป
6.2 ตอบผิด  --> อ่านเนื้อหาใหม่

นำเสนอบทเรียน ASSURE


วิทยากร: ดร.ประเสริฐ แซ่เอี๊ยบ
วันที่ 21  เมษายน 22557
โดย นางสาว ณัฏฐนิช เรืองโอชา
การออกแบบบทเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบ ASSURE
 ชื่อเรื่อง การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัย

       ชื่อผู้ทำโครงงาน
1.   นางสาวณัฏฐนิช           เรืองโอชา         เลขที่  0403
2.   นางสาวสิริรัตน์            ศรีสุขเจริญพร    เลขที่  3988
3.   นางสาวอุไร                ยึดหมู่             เลขที่  1808
4.   นางบงกช                  สุนันต๊ะ           เลขที่  2418
5.   นางจิตตรัตน์               เย็นสุข            เลขที่  0719
6.   นางสาวจรัสแสง           เหมาเพชร        เลขที่  1715
7.   นางสาวพรรณราย         ธัญลักษณ์กุล     เลขที่  0928

การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัย
1. Analyze Learner Characteristic (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน ห้องเรียนปกติ วิชา คอมพิวเตอร์

2. State Objective (การกำหนดวัถุประสงค์)
2.1 ทั่วไป
-เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการค้นหาข้อมูล ทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย
2.2 เชิงพฤติกรรม
-นักเรียนสามารถบอกถึงข้อดี ข้อเสีย จากการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้
-นักเรียนสามารถบอกถึงวิธีการแก้ไขปัญหาจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้

3. Select, Modify, or Design Materials (การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่)
3.1 เลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น Case Study
3.2 เลือกใช้สื่อประเภท ภาพนิ่ง เช่น Power Point
3.3 เลือกใช้สื่อประเภทภาพยนต์ เช่น Video, YouTube

4.  Utilize Material (การใช้สื่อ)
4.1 นำเข้าสู่บทเรียนโดยจากศึกษาจาก Case Study
4.2 ใช้ Power Point ในการนำเสนอ โดยมีเนิ้อหาเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต ในการค้นหาความรู้
4.3 แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
4.4 ใช้ Power Point ในการจัดการเรียนการสอน โดยบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับข้อดี/ ข้อเสีย/ และวิธีแก้ไขการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้อง

5. Require Learner Response (การกำหนดการสอนของผู้เรียน)
5.1 ให้นักเรียนสรุปใบงาน โดยทำชิ้นงานออกมาในรูปแบบของ Mind Mapping
5.2 ให้นักเรียนเสอนตัวแทนกลุ่มมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน  

6. Evaluation (การประเมิน)
6.1 ใช้แบบประเมินการอภิปราย
6.2ใช้ข้อสอบอัตนัยในการวัดความรู้


ปัญหาที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี

Case Study

                                             ความเสียหายจากการใช้เทคโนโลยี 

วิทยากร: ดร.ประเสริฐ แซ่เอี๊ยบ
วันที่ 21 เมษายน 22557
โดย นางสาว ณัฏฐนิช เรืองโอชา

             กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดย นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงฯ แถลงข่าวร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แจ้งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ให้ส่งต่อ หรือ แชร์ กดถูกใจ หรือ ไลค์ ซึ่งจะทำให้ข้อความ หรือ ภาพที่เผยแพร่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์กระจายต่อไป ในกรณีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ของไทยรายหนึ่ง โดยคำแถลงอธิบายว่า การส่งต่อข้อความดังกล่าว อาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังอาจเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฐานเป็นการเผยแพร่ข้อความที่มีเนื้อหาอันส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ

             การรีบแถลงข่าว เป็นการสร้างความรู้ ให้เกิดความเข้าใจถึงความไม่เหมาะสมในการส่งต่อข้อความทางอินเทอร์เน็ต พร้อมกับอธิบายว่า ผู้กระทำสุ่มเสี่ยงต่อความผิดทางกฎหมายนั้น เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับปัญหาที่เริ่มต้น ในขณะที่ข้อเท็จจริงทราบกันว่า เรื่องที่เกิดมิใช่การจงใจที่จะทำให้ปรากฏความไม่เหมาะสม เพียงแต่อาจมีมุมมองของบางคนที่เข้าใจในทางอื่น และนำไปเผยแพร่ ซึ่งผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานต้นสังกัด ได้ชี้แจงแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า มิได้มีความมุ่งหวังในทางไม่เหมาะสม

             ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า การใช้คอมพิวเตอร์ หรือ การส่งข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้น มีกฎหมายควบคุมการเข้าถึง หรือ การนำเข้าสู่ระบบ หรือไม่ทราบว่าแม้เพียงการกดไลค์ก็เท่ากับช่วยขยายเนื้อความให้กระจายตัวมากขึ้น จึงมีบางส่วนที่อาจได้ยินข่าว อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ก็มักพิมพ์คำ หรือ ข้อความสืบค้น เมื่อพบแล้วก็ส่งให้ผู้อื่นทราบเพิ่มขึ้น โดยลืมหรือไม่ทราบว่าเป็นการสนับสนุนการส่งข้อความที่เข้าลักษณะผิดกฎหมายอีกทอด

             กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงหน่วยงานด้านการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี ควรใส่ใจให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ความรู้กับประชาชน และเยาวชน ต่อปัญหาทำนองนี้ให้ทั่วถึงมากที่สุด ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพราะนับวันผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ตลอดจนเครือข่ายสังคมออนไลน์จะทวีขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังจะมีเด็กที่เรียนหนังสือชั้น ป.ขึ้นไป ร่วมเป็นประชากรออนไลน์กลุ่มใหม่ที่พร้อมจะส่งต่อข้อความที่มีผู้เผยแพร่ให้กระจายยิ่งขึ้น จากการขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง การสร้างความรับรู้ล่วงหน้า จะดีกว่ารอให้เกิดปัญหาแล้วแถลง เพราะเทคโนโลยีทางการสื่อสารทุกวันนี้ทำให้การหลั่งไหลข้อมูลไปทั่วโลกได้ภายในไม่กี่นาที ถ้ามีใครนำไปขยายผลในทางร้ายจึงสร้างปัญหาได้เร็ว และตามแก้ไขได้ยาก

          แหล่งที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2555




นำเสนอโครงงาน (PBL:Project Based Learning)

โครงงานเรื่อง การใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะ
เพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

      1.       ชื่อโครงงาน
      การใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์
      ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
4

     2.       ชื่อผู้ทำโครงงาน
1.   นางสาวณัฏฐนิช           เรืองโอชา         เลขที่  0403
2.   นางสาวสิริรัตน์            ศรีสุขเจริญพร    เลขที่  3988
3.   นางสาวอุไร                ยึดหมู่             เลขที่  1808
4.   นางบงกช                  สุนันต๊ะ           เลขที่  2418
5.   นางจิตตรัตน์               เย็นสุข            เลขที่  0719
6.   นางสาวจรัสแสง           เหมาเพชร        เลขที่  1715
7.   นางสาวพรรณราย         ธัญลักษณ์กุล     เลขที่  0928

     3.       ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน     อ.ดร.เจนศึก  โพธิศาสตร์
     
     4.       หลักการและเหตุผล
          ในภาวะปัจจุบันที่อิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นการเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่นย่อมได้เปรียบในการทำกิจการต่างๆ เพราะคงไม่มีใครจะติดต่อสื่อสารและรู้เรื่องได้ดีเท่ากับการพูดภาษาเดียวกัน เคยมีเรื่องเล่ากันเล่นว่าประเทศไทยที่ค้าขายสิงคโปร์ มาเลย์ ฮ่องกง ใต้หวัน ไม่ได้ก็เพราะว่ามาติดต่อกับประเทศไทยแล้วสื่อสารกันยังไม่ชัดเจนจึงต้องผ่านตัวแทนที่รู้ภาษาดีกว่าเช่นสิงค์โป มาเลย์ ฮ่องกง ใต้หวัน หรือแม้แต่ฟิลิปปินส์ก็ตาม  ซึ่งเราจะเห็นว่าประเทศเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่อาจคิดได้ว่าเป็นภาษาสากล หลายประเทศประกาศให้เป็นภาษาราชการอีกภาษาหนึ่ง นอกจากภาษาของตัวเอง           เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สำหรับประเทศไทยการเรียนภาษาอังกฤษมีการตื่นตัวเป็นอย่างมาก เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีพุทธศักราช  2558  ซึ่งปัญหาระบบการศึกษาภาษาอังกฤษในห้องเรียนส่วนใหญ่จะเน้นผู้สอนเป็นสำคัญ โดยใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ดังนั้น ผู้เรียนจึงท่องจำแต่ภายในห้องเรียนด้วยวิธีการเรียน การสอนแบบเดิมๆ 

     5.       วัตถุประสงค์
5.1  เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
5.2  เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
     6.     วิธีดำเนินงาน    
6.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโดยศึกษาขอบข่ายของอธิบายรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
6.2  ศึกษาและเลือกคำศัพท์ที่จะใช้สอนจำนวน 19 คำ ที่ประกอบด้วยคำเดี่ยว เช่น SUNDAY, MONDAY, APRIL ฯลฯ โดยคัดเลือกคำศัพท์ที่อยู่ในแบบเรียน Smile4 ตลอดจนคัดเลือกเพลง จำนวน 2 เพลง แล้วจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยสื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะ
6.3 นำคำศัพท์และเพลงที่เลือกมาตรวจสอบความถูกต้อง เพลงที่คัดเลือกมามีความยากง่าย สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของทางโรงเรียนเพียงใด
6.4   เตรียมสื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-Z ที่ใช้ในกิจกรรม
6.5   สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับกิจกรรมประกอบจังหวะ จำนวน 19 คำ และเพลง 2 เพลง โดยมีการจัดการเรียนรู้ดังนี้
ขั้นที่ 1  ขั้นเร้าความสนใจ (Warm-up activity)
ขั้นที่ 2  ขั้นนำ เสนอเนื้อหา (Presentation)
ขั้นที่ 3  ขั้นการฝึกทักษะ (Practice)
ขั้นที่ 4  ขั้นนำไปใช้ (Production)
ขั้นที่ 5  ขั้นสรุป (Wrap up)
6.6    การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 จำนวน 30 คน
6.7    เครื่องมือการวัดผล
6.7.1 การเรียน โดยใช้แบบทดสอบ
6.7.2 ความพอใจ โดยใช้แบบสอบถาม
6.8 ผลจากวัดประเมิน
          6.8.1  ร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์
          6.8.2  ใช้เกณฑ์ 3 ระดับ คือ พึงพอใจมาก ปานกลาง และ ไม่พึงพอใจ
6.9  สรุปผลการใช้สื่อ
          6.9.1  ผลของการใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
          6.9.2  ผลความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
6.10 นำเสนอผลงาน                       7. แผนปฏิบัติงาน 

ลำดับ
วิธีดำเนินงาน
ระยะเวลา
1
ค้นหาข้อมูล เนื้อหา จากหนังสือ Smile4 และเพลง
15-17 เม.ย.57
2
หาอุปกรณ์ทำสื่อการสอน
18-20 เม.ย.57
3
ลงมือสร้างสื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษจากฝาขวดน้ำ จำนวน 6 ชุด
21-23 เม.ย.57
4
เตรียมเพลงที่จะใช้ในการสอนลงในแผ่นซีดี
24 เม.ย.57
5
ปฏิบัติตามวิธีดำเนินงาน
19-21 พ.ค.57
6
สรุปผลการดำเนินงาน
22 พ.ค.57
7
ประเมินผลการดำเนินงาน
23 พ.ค.57

       8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำคำศัพท์ที่ได้เรียนด้วยวิธีการใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษประกอบเพลงเข้าจังหวะได้มากขึ้น
2.       ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการเรียนภาษาอังกฤษและมีความพึงพอใจในระดับที่ดีขึ้น
     
9.      
เอกสารอ้างอิง
พรรณนที  โชติพงศ์. การใช้กิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์และความคงทน
          ในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4. 2552. [Cited 16 เม.ย.57]
From: http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Tea_Eng_For_Lan(M.A.)/Pannatee_C.pdf
รองเนือง  ศุขสมิติ.  ผลของการใช้เพลงเสริมบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
  วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต  สาขาการสอนภาษาอังกฤษ  
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  2537.
From:  Wilcox, Ella.  Unlock The Joy of  Music.  The Education Digest  11, 7
(
January 1995) : 67-69

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการสร้าง Web Quest

สรุปสาระสำคัญ
     การสร้างบทเรียนออนไลน์แบบ Web Quest

วิทยากร :  ว่าที่ร้อยตรีหญิง ดร. ชัชญาภา วัฒนธรรม
วันที่ 19 เมษายน 2557
จัดทำโดย นางสาวณัฏฐนิช เรืองโอชา


Web Quest เป็นการใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่มากมายบนระบบอินเทอร์เน็ตมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้สอนในรูปแบบของกิจกรรมและสมมติฐาน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการ ฝึกนิสัย และทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กระบวนการทำงานกลุ่ม และการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ บนระบบอินเทอร์เน็ต


บทเรียนออนไลน์แบบ Web Quest ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

     1.       ขั้นนำ (Introduction) 
ขั้นนี้เป็นขั้นเตรียมผู้เรียนให้พร้อมและให้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อแสวงหาคำตอบ
 โดยทั่วไปจะเป็นการให้สถานการณ์ และให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นต่อๆไป ตามที่ออกแบบไว้

     2.       ภาระงาน (Task) 
ขั้นนี้เป็นขั้นการให้งานหรือภารกิจหรือสิ่งที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้ให้สำเร็จ ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุดของเว็บเควสท์ ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามกิจกรรมขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบ ส่วนนี้เป็นส่วนที่ให้เป้าหมายและจุดเน้นสำหรับผู้เรียน หากสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นภารกิจ 

     3.       กระบวนการเรียน(Learning process)
ขั้นนี้เป็นการให้แหล่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับทำภารกิจในขั้นที่สองให้สำเร็จ เป็นแหล่งข้อมูลที่มีบน World Wide Web  และที่ครูผู้ชี้แนะจัดเตรียมประกอบไว้เพิ่มเติม เพื่อว่าผู้เรียนจะสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมายให้หาคำตอบได้
     4.       แหล่งเรียนรู้ (Resource)
ขั้นนี้เป็นขั้นการชี้แนะว่าผู้เรียนจะต้องมีกระบวนการและกิจกรรมใดบ้างเพื่อให้บรรลุภารกิจที่วางไว้ โดยให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย มีกิจกรรมที่นำไปสู่ความคิดขั้นวิเคราะห์ ขั้นสังเคราะห์ และขั้นประเมินผลกิจกรรมนั้นควรที่จะเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และกระบวนการเรียนแบบร่วมมือ (Collaborative Learning) กระบวนการเหล่านี้จะต้องแตกย่อยให้เป็นขั้นตอนที่แน่นอนชัดเจน

    5.       ประเมินผล (Evaluation) นขั้นนี้ ควรกำหนดวิธีการประเมินไว้ เทคนิควิธีของเว็บเครสท์นั้น ผู้เรียนแต่ละคนอาจได้เรียนรู้เนื้อหาไม่เหมือนกันหมดทุกอย่าง ดังนั้นจะต้องมีการกำหนดเกณฑ์การประเมิน (Evaluation Rublics) โดยพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและง่ายต่อความเข้าใจของผู้เรียน เป็นขั้นการประเมินว่าผู้เรียนสามารถหาคำตอบและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด จะเน้นการวัดผลอย่างแท้จริง (Authentic Assessment) ซึ่งอาจเป็นในรูปของการประเมินเชิงมิติ (Rubrics) ที่มีการวางเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน ตัวอย่างการประเมินอย่างแท้จริง เช่น การจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน  (Portfolio) ซึ่งสะสมงานทั้งหมดที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างแผนที่มโนมติ (Concept-map) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลาย การเรียนรู้โดยการแก้ปัญหา (Problem based Learning) การเรียนรู้โดยอาศัยโครงงาน (Project-based Learning) ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้บน WebQuest การประเมินผลอย่างแท้จริงในสภาพจริง เป็นสิ่งที่สำคัญของการเรียนรู้ เป็นการประเมินกระบวนการ การประเมินผลการปฏิบัติงาน มากกว่าการวัดเพียงความรู้ ความจำ

    6.       สรุป (Conclusion) 
ขั้นนี้เป็นขั้นให้ผู้เรียนทำการสรุปความคิดรวบยอดที่ผู้เรียนหรือกลุ่มผู้เรียนได้ช่วยกันแสวงหาความรู้ หาคำตอบ และสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา ทั้งนี้ขั้นสรุปนี้ควรเป็นขั้นที่ทำให้ผู้เรียนตระหนักว่าเขาควรจะเรียนรู้อะไรและแม้แต่กระตุ้นให้ผู้เรียนหาความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในด้านนั้นๆ ต่อไปอีก

Site From: http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=1494