วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

ปัญหาที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี

Case Study

                                             ความเสียหายจากการใช้เทคโนโลยี 

วิทยากร: ดร.ประเสริฐ แซ่เอี๊ยบ
วันที่ 21 เมษายน 22557
โดย นางสาว ณัฏฐนิช เรืองโอชา

             กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดย นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงฯ แถลงข่าวร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แจ้งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ให้ส่งต่อ หรือ แชร์ กดถูกใจ หรือ ไลค์ ซึ่งจะทำให้ข้อความ หรือ ภาพที่เผยแพร่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์กระจายต่อไป ในกรณีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ของไทยรายหนึ่ง โดยคำแถลงอธิบายว่า การส่งต่อข้อความดังกล่าว อาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังอาจเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฐานเป็นการเผยแพร่ข้อความที่มีเนื้อหาอันส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ

             การรีบแถลงข่าว เป็นการสร้างความรู้ ให้เกิดความเข้าใจถึงความไม่เหมาะสมในการส่งต่อข้อความทางอินเทอร์เน็ต พร้อมกับอธิบายว่า ผู้กระทำสุ่มเสี่ยงต่อความผิดทางกฎหมายนั้น เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับปัญหาที่เริ่มต้น ในขณะที่ข้อเท็จจริงทราบกันว่า เรื่องที่เกิดมิใช่การจงใจที่จะทำให้ปรากฏความไม่เหมาะสม เพียงแต่อาจมีมุมมองของบางคนที่เข้าใจในทางอื่น และนำไปเผยแพร่ ซึ่งผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานต้นสังกัด ได้ชี้แจงแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า มิได้มีความมุ่งหวังในทางไม่เหมาะสม

             ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า การใช้คอมพิวเตอร์ หรือ การส่งข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้น มีกฎหมายควบคุมการเข้าถึง หรือ การนำเข้าสู่ระบบ หรือไม่ทราบว่าแม้เพียงการกดไลค์ก็เท่ากับช่วยขยายเนื้อความให้กระจายตัวมากขึ้น จึงมีบางส่วนที่อาจได้ยินข่าว อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ก็มักพิมพ์คำ หรือ ข้อความสืบค้น เมื่อพบแล้วก็ส่งให้ผู้อื่นทราบเพิ่มขึ้น โดยลืมหรือไม่ทราบว่าเป็นการสนับสนุนการส่งข้อความที่เข้าลักษณะผิดกฎหมายอีกทอด

             กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงหน่วยงานด้านการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี ควรใส่ใจให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ความรู้กับประชาชน และเยาวชน ต่อปัญหาทำนองนี้ให้ทั่วถึงมากที่สุด ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพราะนับวันผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ตลอดจนเครือข่ายสังคมออนไลน์จะทวีขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังจะมีเด็กที่เรียนหนังสือชั้น ป.ขึ้นไป ร่วมเป็นประชากรออนไลน์กลุ่มใหม่ที่พร้อมจะส่งต่อข้อความที่มีผู้เผยแพร่ให้กระจายยิ่งขึ้น จากการขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง การสร้างความรับรู้ล่วงหน้า จะดีกว่ารอให้เกิดปัญหาแล้วแถลง เพราะเทคโนโลยีทางการสื่อสารทุกวันนี้ทำให้การหลั่งไหลข้อมูลไปทั่วโลกได้ภายในไม่กี่นาที ถ้ามีใครนำไปขยายผลในทางร้ายจึงสร้างปัญหาได้เร็ว และตามแก้ไขได้ยาก

          แหล่งที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2555




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น